ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อคเพื่อการเรียนรู้ของ นางสาวมณทิพย์ ศิริวราวาท

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางสาวมณทิพย์ นามสกุล ศิริวราวาท
ชื่อเล่น หมวย
สถานภาพ โสด
เกิดวันที่29 ก.ย. 2531
ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 64/12 ม.1 ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
ภูมิลำเนาเดิม จ.ชลบุรี
การศึกษา
กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ สาขาการจัดการ (ศูนย์ระยอง)
สถานที่ทำงาน บริษัท ปุ๋ยราชพฤกษ์ จำกัด
ตำแหน่ง ธุรการ

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การบ้านบทที่4

บทที่4
1.สื่อกลางประเภทมีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
ตอบ       ข้อดี
- ราคาถูก
- เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งน้อย
-สามารถส่งข้อมูลที่มีปริมาณเยอะ ๆ ได้เร็วมาก
-ข้อมูลที่ได้รับจึงมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีสัญญาณรบกวนน้อย
-ข้อมูลมีความปลอดภัยสูงเนื่องจากไม่มีการแผ่สัญญาณออกไปทำให้ผู้อื่นดักจับ สัญญาณได้ยาก
        ข้อเสีย
                   - มีข้อจำกัดเรื่องความยาวของสายสัญญาณ
                   -ไม่สามารถโค้งงอสายเคเบิลได้ตามความต้องการ ดังนั้นผู้ที่จะทำหน้าที่เดินเคเบิลใยแก้วนำแสงจะต้องเป็นผู้ที่ชำนาญและมีประสบการณ์เท่านั้น
       - ค่าดำเนินการในการติดตั้งสายเคเบิลมีราคาแพง
2.สื่อกลางประเภทไม่มีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
ตอบ       ข้อดีของสื่อกลางประเภทไม่มีสาย
- เป็นระบบไร้สายจึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสาย
- ไม่มีปัญหาเรื่องสายขาด
- มีค่าแบนด์วิดธ์สูง ซึ่งมีผลทำให้อัตราความเร็วการส่งข้อมูลสูงด้วย
ข้อเสียของสื่อกลางประเภทไม่มีสาย
- เป็นสื่อกลางที่ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
- ค่าติดตั้งจานและเสาส่งมีราคาแพง
- การใช้งานต้องขอใช้ความถี่จากองค์กรควบคุมการสื่อสาร แสงอินฟาเรด
3.PAN และ SAN คืออะไรจงอธิบาย
ตอบ       PAN คือ "ระบบการติดต่อไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network เรียกว่าBluetooth
- Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a
- Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1a
- Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4a
เทคโนโลยี เหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ให้สามารถรับส่งข้อมูลให้ ถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวีดีโอที่มีความละเอียดสูงได้
ส่วน SAN เป็น ระบบเครือข่ายของที่เก็บข้อมูล โดยนำอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลมาติดตั้งรวมกันเป็นเครือข่าย มีระบบจัดการข้อมูลบนเครือข่ายที่ทำให้รับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว ทำให้ข้อมูลที่เก็บเสมือนเป็นส่วนกลางที่แบ่งให้กับซีพียูหลายเครื่องได้

การบ้านบทที่3

บทที่3
1.ระบบสารสนเทศประกอบไปกี่ส่วน คืออะไรบ้าง
ตอบ       ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วย 5 ส่วน คือ
1.ข้อมูล เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อบุคคลและองค์กร ข้อมูลแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้
1.1 ข้อมูลทั่วไป
1.2 ข้อความ
1.3 ภาพ
1.4 เสียง
1.5 Tactile Data
1.6 ข้อมูลจากเครื่องรับรู้ ได้จากเครื่องรับรู้ต่างๆที่ใช้ในการควบคุมอุปกรณ์
2. การจัดเก็บ เน้นการจัดข้อมูลให้อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อำนวยความสะดวกต่อการเรียกใช้งาน
3. เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและประมวลผล เครื่องมือที่ใช้ คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
4. การประมวลผล คือ การแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการนำมาใช้งาน
5. สารสนเทศ เป็นผลผลิตของระบบสารสนเทศที่มีคุณสมบัติถูกต้อง ตรงความต้องการ ทันเหตุการณ์ สมบูรณ์ครบถ้วน กะทัดรัด
2.ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยอะไรบ้าง นศ.คิดว่าเพราะอะไร จงให้เหตุผล
ตอบ       - การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Processing ) เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประมวลผล เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณมาก ต้องการความรวดเร็ว ถูกต้อง
3.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์  แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
ตอบ       - สามารถจำแนกวิธีการประมวลผลตามลักษณะเครื่องมือที่ใช้ ได้ 3 วิธี คือ
1. การประมวลผลด้วยมือ ( Manual Data Processing ) เป็นวิธีดั้งเดิม วิธีการประมวลผลไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณไม่มาก และไม่เร่งด่วน มีการนำอุปกรณ์ธรรมดามาช่วย เช่น การใช้ลูกคิด กระดาษ ปากกา
2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล ( Mechanical Data Processing) เป็นวิธีการประมวลผลที่อาศัยเครื่องจักรกลมาทำงานร่วมกับอุปกรณ์สำหรับการ ประมวลผลด้วยมือ เช่น เครื่องทำบัญชี
3. การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Processing ) เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประมวลผล เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณมาก ต้องการความรวดเร็ว ถูกต้อง
4.หน่วยที่เล็กที่สุดในการมองของคอมพิวเตอร์
ตอบ       - บิต (Bit) Binary Digit เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลที่ใช้อยู่ในคอมพิวเตอร์
5.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลของการมองของผู้ใช้งานจากขนาดเล็กไปใหญ่
ตอบ        หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถจัดเรียงเป็นลำดับชั้น จากขนาดเล็กไปขนาดใหญ่ได้ดังนี้
- บิต (bit) เลขฐานสองหนึ่งหลักซึ่งมีค่าเป็น 0 หรือ 1
- ตัวอักษร (character) กลุ่มข้อบิตสามารถแทนค่าตัวอักษรได้ ในชุดอักขระASCII 1 ไบต์ (8 บิต) แทน 1 ตัวอักษร
- เขตข้อมูล (field) เขตข้อมูลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มตัวอักษรที่แทนข้อเท็จจริง
- ระเบียน (record) คือโครงสร้างข้อมูลที่แทนตัววัตถุชิ้นหนึ่ง เช่น ระเบียนนักเรียน
- แฟ้ม (file) ตารางที่เป็นกลุ่มของระเบียนที่มีโครงสร้างเดียวกัน
- ฐานข้อมูล (database) กลุ่มของตารางที่มีความสัมพันธ์กัน

การบ้านทบที่2

บทที่2
1.อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า  (Input Device) มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง 
ตอบ       อุปกรณ์รับเข้า (Input Device) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลหรือคำสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์แล้วทำการส่ง ต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (Processing Unit) อุปกรณ์รับเข้าที่เห็นโดยทั่วๆ ไปเช่น
-          แผงแป้นอักขระ หรือคีย์บอร์ด (Keyboard)
-          เม้าส์ (Mouse)
-          ลูกกลมควบคุม (Track Ball)
ซึ่งเป็นอุปกรณ์นำเข้าเป็นการนำข้อมูลเข้าจากแหล่งข้อมูลโดยการบันทึกตรง แต่มีการรับข้อมูลเข้าบางอย่างที่ต้องอาศัยเก็บข้อมูลไว้ในแหล่งเก็บแล้วทำการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล ซึ่งวิธีนี้เรียกว่าการนำข้อมูลต้นฉบับเข้าอัตโนมัติ     (Source Data Automation) เช่น
-          เครื่องอ่านอักขระหมึกแม่เหล็ก หรือเอ็มไอซีอาร์ (Magnetic-Ink Character Reader : MICR)
-          เครื่องกราดภาพ  (Scanner)
-          เครื่องอ่านสัญลักษณ์ด้วยแสง หรือโอเอ็มอาร์ (Optical Mark Reader :OMR)
-          เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง หรือโอซีอาร์ (Optical Character  Reader :OCR)
-          รหัสแท่ง (Bar Code)
-          อักขระที่เป็นลายมือเขียน (Handwritten Character)
-          ข้อมูลเข้าที่เป็นเสียง (Voice Input)
-          จอสัมผัส (Touch Screen)
-          ป้อนข้อมูลเข้าด้วยการมอง (Looking) 
2.อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง       
ตอบ       หน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผลดังนั้นตลอดการประมวลผลจึงมีการติดต่อประสานงานกันระหว่างหน่วยประมวลผลกับหน่วยความจำอยู่ตลอดเวลาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การเรียกใช้โปรแกรมหรือข้อมูลสามารถทำได้อย่างรวดเร็วต่อเนื่องและถูกต้องเป็นขั้นตอน และประกอบไปด้วย
1. หน่วยควบคุม (Control Unit)
2. หน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน (Main Memory or Internal Memory)
3. หน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน (Main Memory or Internal Memory)
หน่วยความจำถาวร (ROM: Read Only Memory)
หน่วยความจำแบบชั่วคราวหรือแบบแก้ไขได้ (Random Access memory: RAM)
- เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)
- จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk)
- จานแม่เหล็กแบบอ่อนหรือดิสก์เก็ต (Floppy Disk: Diskette)
- ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
- ซีดีรอม (CD-ROM: Compact Disk Read Only Memory)
- ซีดี- อาร์ (CD-R: CD-Recordable)
- วอร์มซีดี (WORM CD: Write One Read Many CD)
- เอ็มโอดิสก์ (MO: Magneto Optical Disk)
- ดีวีดี (DVD: Digital Versatile Disk)
3.อุปกรณ์แสดงผลมีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
ตอบ       เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลหรือผลที่ได้จากการประมวลผลออกมาแสดงตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้วตั้งแต่ต้น อุปกรณ์ส่งออกโดยทั่วไปได้แก่
1.จอภาพ เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ผลที่แสดงออกบนจอภาพจะเรียกว่าสำเนาชั่วคราว หรือ Soft Copy   จอภาพมีชื่อเรียกหลายแบบตามลักษณะของที่มาเช่น
·       มอนิเตอร์ (Monitor)
·       จอซีอาร์ที หรือหลอดภาพลำแสงขั้วบวก (Cathode Ray Tube)
·       จอวีดียู  หรือ VDU  (Video Display Unit)
·       จออาร์จีบี หรือ RGB (Red Green Blue)
·       เทอร์มินัล (Terminal)
·       จอแอลซีดี หรือจอภาพผลึกเหลว (LCD : Liquid Crystal Display)
2.เครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ (Printer) ใช้ในการออกผลลัพธ์ที่เป็นสำเนาถาวร หรือสิ่งพิมพ์ออก (Hard Copy)  บนกระดาษ เครื่องพิมพ์สามารถแบ่งตามวิธีการทำงานได้  2 ประเภทคือ
1.       เครื่องพิมพ์แบบกระทบ  (Impact Printer)
-          เครื่องพิมพ์รายอักขระ (Character Printer)
-          เครื่องพิมพ์รายบรรทัด (Line Printer)
-          เครื่องพิมพ์รายหน้า (Page Printer)
2.       เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ  (Nonimpact Printer)
-          เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
-          เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (Ink Jet Printer)
-          เครื่องพิมพ์แบบใช้ความร้อน (Thermal Printer or Electro thermal Printer)
-          เครื่องพิมพ์เฉพาะด้าน

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การบ้าน

อธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
ตอบ
1.             เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆ ที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ตัวอย่าง มีการจัดการสารสนเทศเป็นอย่างดีเพื่อให้ง่ายต่อการ รวบรวม ค้นหา ฯลฯ
2.             สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่าสารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  เช่น สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ
3.             เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสาร และการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ตัวอย่าง มีความสำคัญในการดำเนินกิจการ ช่วยในการตัดสินใจ เพื่อให้องค์กรสามารถสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้
4.             ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจบันทึกเก็บไว้ใช้งาน
5.             ฐานความรู้ คือ สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้
ตัวอย่าง ในชีวิตประจำวันเราใช้เทคโนโลยีในด้านคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ในการดำเนินกิจกรรม การประกอบอาชีพ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทุกด้านในการปฏิบัติงาน มีการจัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล ฐานความรู้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่อไป



2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ
โครงสร้างระบบสารสนเทศ ระบบ สารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบที่เกี่ยวข้องระหว่าง มนุษย์ กับ เทคโนโลยี ด้าน ข้อมูลข่าวสาร
                
ระบบ สารสนเทศเพื่อการจัดการ ( MIS ) จึงเกี่ยวข้อง และ สัมพันธ์กับระบบต่าง ๆ เช่น
                          -
การบริหารศาสตร์                  ( Management Science )
                          -
บัญชีจัดการ                          ( Management Accounting )
                          -
การจัดการ                            ( Management )
                           -
พฤติกรรมบุคคล                    ( Human Behavior )
                           -
การประมวลผลข้อมูล             ( Data Processing )
                           -
คอมพิวเตอร์ศาสตร์               ( Computer Science )
                  
นั่นคือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกนำเข้ามาประมวลผล อาจเกี่ยวข้องกับ ระบบย่อย 1 ระบบ หรือ หลายระบบ เป็นตัวกลาง ที่ช่วยให้ได้ผลลัพธ์ หรือ ผลงานที่ต้องการMIS Technology ประกอบด้วย
                                                   - Hardware
                                                   - Software
                                                   - Peopleware
                                                   - Database
                                                   - Procedure                                 
MIS จะทำหน้าที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง กับ ระบบ หรือ กิจกรรมต่าง ๆ ภายในองค์กร ซึ่งถ้ามองสภาพแวดล้อมในองค์กรเป็นระบบชนิดหนึ่งแล้ว จะมี ระบบ ย่อย ๆ ดังนี้
1.
เป้าหมาย และ คุณค่า ( Goals and Values Subsystem ) หมายถึง เป้าหมายและ ทัศนคติของ กลุ่มคน ต่าง ๆ ภายในองค์กร
2. งานเฉพาะด้าน ( Technical Subsystem ) หมายถึง ส่วนของผู้ที่ทำงานเฉพาะด้าน ภายในองค์กร เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการตลาด ฝ่ายวิจัย ฯลฯ
3. การบริหาร ( Managerial Subsystem ) หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ ตัดสินใจ กำหนดนโยบาย วางแผน และ ออกแบบโครงสร้างขององค์กร
4. สภาพสังคม และ จิตวิทยา ( Psychosocial Subsystem ) หมายถึง พฤติกรรม การจูงใจ สถานภาพ บทบาท และ การแบ่งกลุ่มบุคคลต่าง ๆ
5. กำหนดโครงสร้าง ( Structure Subsystem ) หมายถึง วิธีการที่องค์กร ได้จัดการแบ่งงานตามหน้าที่ การประสานงาน อำนาจหน้าที่ การติดต่อสื่อสาร และ รูปแบบการทำงาน ตัวอย่างความสัมพันธ์ของ MIS กับระบบย่อย เช่น แผนกบัญชี เป็น ระบบเฉพาะด้าน ที่ MIS จะช่วยการจัดการในการประมวลผลข้อมูลทางการเงิน หรือ มีส่วนสัมพันธ์กับการกำหนดโครงสร้างขององค์กร โดยให้ข้อมูลว่าการมีโครงสร้าง แบบรวมการ ( Centralize ) หรือ แบบกระจาย ( Decentralize ) จะมีผลอย่างไร หรือ มีผลต่อต้นทุนการผลิตอย่างไร เป็นต้น
3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ
ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล (Data Processing Age) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (management Information System : MIS) มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ
ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ
ตัวอย่าง เราจะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีในสมัยนี้ก้าวหน้าไปมาก ไม่ว่าจะดำเนินกิจการใดเราก็จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของสารสนเทศด้วยกันทั้งนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วและช่วยให้เราสามารถทำกิจการได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น